นักวิชาการเตือนฟ้าผ่า! ไม่ได้เกิดจากโลหะสื่อล่อฟ้า

ภัยธรรมชาติที่พึงระวังเป็นอย่างยิ่งในช่วงฝนตกฟ้าคะนองทั่วกรุงเช่นนี้ คือ “ฟ้าผ่า”โดยล่าสุดพบศพชาย 2 คน เสียชีวิตอยู่ใกล้รถจักรยานยนต์ฮอนด้าเวฟบริเวณริมอ่างเก็บน้าดอกกรายจังหวัดระยอง ตรวจสภาพศพพบหน้าอกมีรอยไหม้เกรียมเสื้อผ้าขาดวิ่น (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บ้านเมือง) เบื้องต้นสันนิษฐานว่าผู้เสียชีวิตได้เข้ามาหลบฝนใกล้รถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นสื่อสายไฟทาให้ฟ้าผ่าเสียชีวิต ด้านนักวิชาการออกมาชี้แจงว่าความจริงแล้วจุดที่ฟ้าผ่าไม่จาเป็นต้องมีโลหะหรือตัวนาไฟฟ้าชั้นดีเป็นสื่อล่อก็ผ่าได้ ส่วนโลหะ เช่น เครื่องประดับ แหวน สร้อยคอ เข็มกลัด ที่เคยเชื่อว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดฟ้าผ่าผู้เสียชีวิตในหลายกรณีที่ผ่านมานั้นแทบจะไม่มีผลใดๆในการล่อฟ้าเลย 

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนองหรือเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งภายในก้อนเมฆเองและพื้นดินมีต่างมีประจุไฟฟ้าที่ต่างกันคือประจุบวกและประจุลบ เมื่อประจุที่ต่างกันวิ่งเข้าหากันก็จะทาให้เกิดฟ้าผ่าขึ้นด้วยเหตุนี้ฟ้าผ่าจึงเกิดขึ้นได้หลายแบบ เช่น ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหรือฟ้าแลบ รวมถึงฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้นดินซึ่งเป็นประเภทที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นอันตรายกับคนส่วนใหญ่มากที่สุด 


“ฟ้าผ่า" จากเมฆลงสู่พื้นดินเกิดขึ้นเมื่อประจุลบ(อิเล็กตรอน) เคลื่อนที่จากฐานเมฆลงมาที่อากาศผ่านเข้ามาใกล้พื้นดิน ซึ่งประจุลบนี้สามารถเหนี่ยวนาให้วัตถุที่พื้นผิวของโลกซึ่งอยู่ “ใต้เงาเมฆ” มีประจุเป็นบวกได้ทั้งหมดพร้อมทั้งดึงดูดประจุบวกจากพื้นดินให้ไหลขึ้นมาตามต้นไม้หลังคาบ้านหรือบริเวณใดก็ได้ที่เป็นที่สูง เมื่อประจุลบกับประจุบวกเดินทางมาเจอกันเคลื่อนที่สวนทางจึงเกิดเป็นกระแสโต้กลับและเกิดเป็นฟ้าผ่าได้ในที่สุด ดังนั้นจะเห็นว่าวัตถุและพื้นที่ทุกจุดใต้เงาเมฆฝนฟ้าคะนองมีโอกาสเป็นจุดที่ถูกฟ้าผ่าได้หมดแม้จะไม่เป็นตัวนาไฟฟ้าก็ตาม ซึ่งจุดเสี่ยงที่จะเกิดฟ้าผ่ามากที่สุดคือบริเวณที่สูง เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า หลังคาบ้าน เนื่องจากเป็นตาแหน่งที่ประจุบวกสามารถเชื่อมโยงกับประจุลบได้ง่ายที่สุด ในขณะที่ชิ้นส่วนโลหะ เช่น สร้อย แหวน กระดิ่งแขวนคอวัว นั้นแทบจะไม่มีผลต่อการเป็นสื่อล่อฟ้าเลย 

ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ที่ไม่ได้ถูกฟ้าผ่าโดยตรง ดร.บัญชา กล่าวว่า สามารถได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าใน 3 รูปแบบ คือ 

1. ไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสกับสิ่งที่ถูกฟ้าผ่า เช่น หากหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ เสาไฟฟ้า เสาอากาศ และมีบางส่วนของร่างกายแตะกับสิ่งที่ถูกฟ้าผ่ากระแสไฟฟ้าก็จะไหลเข้าสู่ลาตัวได้โดยตรง 

2. ไฟฟ้าแลบจากด้านข้าง (side flash)กล่าวคือ แม้จะไม่ได้แตะจุดที่ฟ้าผ่ากระแสไฟฟ้าก็อาจจะ “กระโดด” เข้าสู่ตัวคนทางด้านข้างได้ (ดูภาพ Side Flash ประกอบ) 

3. กระแสวิ่งตามพื้น (step voltage) คือ กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งจากจุดถูกที่ฟ้าผ่าออกไปยังบริเวณโดยรอบ เช่น จากลาต้นลงมาที่โคนต้นไม้และกระจายออกไปตามพื้นดิน ซึ่งมักเป็นบริเวณที่น้าเจิ่งนอง หากกระแสดังกล่าววิ่งผ่านเข้าสู่ตัวคนก็ย่อมทาอันตรายได้ โดยในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือทำให้ถึงแก่ความตายสำหรับกรณีกระแสวิ่งตามพื้นนี้ เคยมีกรณีเหตุการณ์ฟ้าผ่าวัวจานวนมากตายและสันนิษฐาน(อย่างไม่ถูกต้องว่า) เกิดจากกระดิ่งโลหะที่แขวนคอเป็นตัวล่อ ซึ่งความจริงแล้วโอกาสที่สายฟ้าจะผ่าลงมาตรงกระดิ่งขนาดเล็กของวัวพร้อมกันหลายๆตัวนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ส่วนกรณีรอยไหม้ที่พบบริเวณที่ใส่โลหะต่างๆ ดร.บัญชา อธิบายว่าเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่ตัวคนได้ทั้งจากเสื้อผ้า (ซึ่งอาจเปียกน้า) ร่างกายและผ่านลวดหรือโลหะ ซึ่งโลหะมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำสุดจึงทำให้กระแสไฟไหลผ่านในปริมาณมากก่อให้เกิดความร้อนและเป็นรอยไหม้ที่พบบนผิวหนัง ดังเช่น กรณีหญิงสาวชาวไทย 2 คน ที่ถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตใต้ต้นไม้ในสวนสาธารณะไฮด์พาร์ค กลางกรุงลอนดอนและพบรอยไหม้ตามแนวขอบเสื้อชั้นใน ดังที่เคยเป็นข่าวเมื่อปี 2542 เป็นต้น 


อย่างไรก็ดี การออกมาชี้แจงเรื่องฟ้าผ่านั้นไม่ต้องการให้ประชาชนตื่นตระหนก แต่เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจกับการเกิด “ฟ้าผ่า” ที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากฟ้า ทั้งนี้สถานที่หลบภัยจากฟ้าผ่าคือภายในตัวอาคารหรือรถยนต์ที่ปิดกระจกโดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่สัมผัสกับวัสดุที่เชื่อมต่อกับอาคารหรือตัวรถด้านนอกซึ่งอาจถูกฟ้าผ่าได้ งดการใช้โทรศัพท์แบบมีสาย ถอดปลั๊กโทรทัศน์และไม่ควรเล่นอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ เพราะกระแสไฟฟ้าจากอาคารสามารถวิ่งมาตามสายโทรศัพท์ได้ ขณะที่คนซึ่งอยู่กลางแจ้งเมื่อเกิดฟ้าผ่าให้นั่งยองๆก้มศีรษะเพื่อลดตัวให้ต่าที่สุด เท้าชิดกันและเขย่งเล็กน้อยเพื่อลดความเสี่ยงกรณีกระแสไฟไหลมาตามพื้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (สวทช.), THAIWARE.COM 

ภาพจาก THAIWARE.COM